สถิติวันนี้ | 4 |
สถิติเมื่อวานนี้ | 111 |
สถิติเดือนนี้ | 574 |
สถิติปีนี้ | 4253 |
สถิติทั้งหมด | 139496 |
ศวพ.พิจิตร ปรับปรุง ถั่วฝักยาวสีม่วง
ให้มีคุณภาพดี อายุเก็บเกี่ยวสั้น
ถั่วฝักยาวเป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่
ทุกภาคของประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 92,646 ไร่ ผลผลิตรวมทั้งหมด 113,643 ตัน
ราคาเฉลี่ยได้อยู่ที่ประมาณ 20 บาท/กิโลกรัม นอกจากนี้ยังพบว่าราคาในช่วงฤดูร้อนของแต่ละปีสูงถึง
70-90 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากสภาพที่ร้อนและแห้งแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตถั่วฝักยาวลดลงไปอย่างมาก
และขาดตลาดในช่วงฤดูร้อน
ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
สามารถรับประทานได้ทั้งผักสดและนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู
นอกจากนี้ยังมีการผลิตผักสดเพื่อการส่งออก ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่
ประเทศในแถบเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง
ถั่วฝักยาวมีธาตุแคลเชียม ฟอสฟอรัส และวิตามินที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก มีกากใยอาหารที่ละลายได้ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี มีวิตามินชีสูง และยังช่วยลดคลอเรสเตอรอลในร่างกาย นอกจากนี้หากเป็นถั่วฝักยาวสีม่วงจะมีสารแอนโทไซยานินสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมโทรมของร่างกาย
นายอภิรักษ์ วงค์คำจันทร์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ได้ปรับปรุงพันธุ์ถั่วฝักยาวสีม่วงเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต โดยพัฒนาพันธุ์ถั่วฝักยาวสีม่วงให้มีความหนาของเนื้อมากขึ้น อายุการเก็บเกี่ยวสั้นลง และมีอัตราการพองตัวช้าลง มีอายุการวางตลาดนานขึ้น ในการทดลองมีการผสมและคัดเลือกพันธุ์ เปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์แท้ที่เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดเพื่อปลูกในรุ่นต่อไปได้ และแก้ปัญหาพันธุ์การค้าที่ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ลูกผสมที่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกปี ที่สำคัญเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับเกษตรกรมากขึ้น |
เริ่มงานปรับปรุงพันธุ์ในปี 2560 นายอภิรักษ์ วงค์คำจันทร์ และทีมงานวิจัยเริ่มดำเนินการผสมและคัดเลือกพันธุ์ถั่วฝักยาวสีม่วงแดง คุณภาพดี เนื้อหนา พองตัวช้า มีสารแอนโทไซยานินสูง และมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้พันธุ์น่าน 1 (ฝักสีม่วงแดง) เป็นสายพันธุ์แม่ ซึ่งมีลักษณะฝักยาว ความหนาเนื้อน้อยออกดอกช้า พองตัวเร็ว ให้ผลผลิตสูง ผสมกับถั่วฝักยาวสายพันธุ์YB 15 (ฝึกสีเขียว) เป็นสายพันธุ์พ่อ ซึ่งให้ผลผลิตสูง ความหนาเนื้อสูง ออกดอกเร็ว พองตัวช้า แต่ฝักสั้นทำการคัดเลือกพันธุ์ โดยการบันทึกประวัติ (Pedigree Selection) โดยทำการคัดเลือกตั้งแต่ชั่วที่ 2 (F2) จนถึงชั่วที่ 5 (F5) ได้ทำการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึง มกราคม 2563 จากนั้นได้ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ดีเพื่อนำไปปลูกปรียบเทียบพันธุ์ถั่วฝักยาวสีม่วงโดยใช้พันธุ์น่าน 1 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ดำเนินการในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด |
ในปี 2564 ปลูกทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกรกร โดยใช้พันธุ์น่าน 1 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ
ที่จังหวัดพิจิตร 2 ฤดูปลูก จังหวัดพิษณุโลก 1 ฤดูปลูก และจังหวัดกำแพงเพชร 1
ฤดูปลูก รวมทั้งสิ้น 4 ฤดูปลูก นายอภิรักษ์ วงค์คำจันทร์ พบว่า
ถั่วฝักยาวสีม่วงสายต้น พจ.21-9-24-22 ให้ผลผลิตสูงในทุกฤดูปลูก ผักสดสีม่วงเข้มตลอดทั้งฝัก
การเจริญเติบโตทางด้านลำต้นดี ขึ้นค้างได้เร็วขึ้น คุณภาพการบริโภคดี
จึงเสนอคณะกรรมการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร พิจารณาถั่วฝักยาวเป็นพันธุ์แนะนำโดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า
"ถั่วฝึกยาวสีม่วงพันธุ์ กวก. พิจิตร 1" |
ลักษณะเด่น ถั่วฝักยาวสีม่วงพันธุ์ กวก.พิจิตร 1
ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,942 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์น่าน 1 ร้อยละ 46.27
อายุเก็บเกี่ยวฝักแรก 44 วัน หลังปลูก เร็วกว่าพันธุ์น่าน 1 จำนวน 5 วัน สีฝึกสด
ม่วงเข้มกว่าพันธุ์น่าน 1 มีปริมาณสารแอนโทไซยานิน 187.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด
สูงกว่าพันธุ์น่าน 1 ที่มีปริมาณสารแอนไซยานิน 115.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
น้ำหนักสด ความหนาเนื้อเฉลี่ย 2.05 มิลลิเมตร มากว่าพันธ์น่าน
1 ที่มีความหนาเนื้อเฉลี่ย 1.53 มิลลิเมตร ลักษณะฝักตรง ผิวฝักย่น มีความยาวฝักสุดเฉลี่ย44.88
เซ็นติเมตร มีความยาวฝักสูงสุด 49.46 เชนติเมตร เหมาะสำหรับการรับประทานฝักสดเพื่อให้ใต้คุณค่าทางโภชนาการสูง ถั่วฝักยาวสีม่วงพันธุ์ กวก.พิจิตร 1
ถ้าปลูกในช่วงพฤศจิกายน - กุมภาพันธุ์ จะให้ผลผลิตดีที่สุด |